วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น 
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
          ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
          การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  
การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของระบบเครือข่าย
          การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง 

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้
          สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  

การใช้โปรแกรมติดต่อสื่อสารระยะไกล
          สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  

การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในงานธุรกิจ
 
          ความประหยัด          นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
          ความเชื่อถือได้ของระบบงาน           นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
                ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ   ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ   เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน  ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
                จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล  ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล  ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน  อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ   นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ   ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
                องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
                2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
                3.  ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
                     - ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
                     - เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
                      - รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
                      - สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
                5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
1.2 ชนิดของการสื่อสาร
                การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
                                1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 2
                                               

รูปที่ 2 แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 3
             

รูปที่ 3 แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 4
              

รูปที่ 4 แสดงการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
1.3 การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง
ประเภทของสัญญาณ
ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามาถจำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ
1.       สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)
เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล แสดงดังรูปที่ 5
                   
รูปที่ 3.5 แสดงสัญญาณแบบดิจิทัล
2.       สัญญาณอนาลอก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แสดงดังรูปที่ 6
                      

                                          

อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย

                   1.   สายคู่บิดเกลียว  Twisted  pair  เป็นสายทองแดง  พันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายนอก   อัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวขึ้นอยู่กันพื้นที่หน้าตัดของตัวนำคือสายทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างจะส่งสัญญาณได้ดี  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิดคือ
                                ก.  สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ    Unshielded  Twisted  Pair  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาย   UTP  ใช้ในวงจรโทรศัพท์  สาย UTP  ใช้ลวดทองแดง  8  เส้น  แต่สายโทรศัพท์มี 2 หรือ 4  เส้น    สาย UTP  จะต่อเข้ากับหัว  RJ45  นิยมใช้กันมาก  ซึ่งใช้งานได้หลายแบบ  เช่น
                                                -  สายทองแดง 3-8  เป็นสายสัญญาณ  10  เมกะบิตของอิเธอร์เน็ตแบบ  10BASE-T
                                                -  สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 ของอิเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
                                                -  สายทองแดง 8 เส้นเป็นสายสัญญาณเสียง
                                                -  สายทองแดง 2 เส้น สำหรับสายโทรศัพท์
                                ข.  สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน  หรือ  Shielded  Twisted  Pair  หรือ  STP 
มีตัวกั้นสัญญาณรบกวน  STP  ใช้ความถี่สูงกว่า  UTP  ราคาแพงกว่าด้วย
                                ค.  สายโคแอคเชียล  Coaxial  เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางและมีสายทองแดงถักล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณ  มีหลายแบบตามลักษณะความต้านทานของสาย
                                ง.  เส้นใยแก้วนำแสง  Fiber  optic  เป็นสายที่ใช้แสงความถี่สูงวิ่งไปตามเส้นใยแก้ว  สามารถนำข้อมูลได้มาก  ส่งได้ถึง พันล้านบิตต่อวินาที ใช้ได้ในระยะทางไกล  เส้นใยแก้วนำแสงใช้สำหรับส่งข้อมูลสำหรับเครือข่าย

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย

                                           
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน

เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม

ความหมายเเละพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

วิวัฒนาการของการสื่อสาร

หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์คงจะไม่ผิดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารข้อมูลนั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อความคิด เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย ก้าวหน้าควบคู่กันมาทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร จากการที่ใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร ก็เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย หรือพัสดุภัณฑ์อื่น มีโทรเลข มีโทรศัพท์ มีวิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้งเสียงและได้เห็นทั้งภาพเหล่านี้ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง
จะว่าไปแล้ว มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม จึงย่อมต้องติดต่อสื่อสารกัน มนุษย์ที่อยู่อาศัยในดินแดนพื้นที่ที่ห่างไกลกัน ถึงขั้นเป็น เมือง เป็นรัฐอันอิสระ ต่างก็ต้องมีวิธีส่งข่าวสารถึงกันทั้งสิ้น

การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการต่างๆ ดังนี้

ม้าเร็ว
ผู้ส่งสารในระบบ "ม้าเร็ว" นี้ ก็นับว่าดีทีเดียว คือไม่ล่าช้า ทั้งยังส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่ง ชาวจีนโบราณมีการพัฒนาระบบการส่งข่าวทางไกลให้ คล่องตัวตลอดมา โดยระบบเฟื่องสุดขีดในช่วงที่มองโกลมาจัดการ (จริงๆ แล้วมีการพัฒนากันมานานก่อนหน้านั้นเป็น 100 ปีทีเดียว)  
นกพิราบสื่อสาร
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การสื่อสารระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับศูนย์บัญชาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะใช้ทหารเดินเท้าในการส่งข่าว ไหนจะต้องหลบหลีกให้พ้นสายตาข้าศึก และต้อง เผชิญอุปสรรคนานัปการ ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กันดาร นกพิราบสื่อสาร จึงถูกนำมาใช้ในการส่งข่าวสารจากสมรภูมิกลับสู่บ้านเกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ

เคอร์ซัส พับลิคัส
ส่วนทางโรมันก็มีระบบที่ละเอียดซับซ้อนในการติดต่อส่งข่าวสารเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกเป็นภาษา โรมัน ว่า เคอร์ซัส พับลิคัส ระบบของโรมันนี้นับว่าฉลาดไม่น้อย คือใช้แบบส่งเป็นทอด หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้ การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจ ตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ตอนที่อาณาจักรโรมันแตก ระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ยัง ยืนหยัดใช้กันอยู่พอสมควร



ระบบไปรษณีย์
ครั้นถึงยุคกลางของยุโรป ก็มีวิธีการอื่นขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการค้าขายที่เฟื่องฟู โดยเฉพาะในอิตาลี ติดต่อส่งสินค้าการพาณิชย์ กันในเมืองใหญ่ๆ เช่น จากเวนิส ถึง คอนสแตนติโนเปิลฯ ต่อมามีความเจริญก้าวหน้าของระบบการศึกษา ตลอดจนระบบการพิมพ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงเห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ และข้ามทวีป เมื่อมี การเขียนจดหมายมากขึ้น และมีความต้องการสื่อสารอย่างเร่งรีบขึ้น จึงมีกลุ่มบุคคลที่เล็งเห็นความ สำคัญของการทำกิจการทำนองนี้ เช่น ครอบครัวแท็กซี่ (TAXIS FAMILY) ซึ่งมีกำเนิดอยู่ใน เบอร์กา- โม ประเทศอิตาลี พวกเขาได้จัดตั้งระบบไปรษณีย์ ระหว่างชาติขนาดมหึมา ใช้คนส่งสารถึง 2 หมื่น คน เพื่อส่งไปรษณีย์ทั่วยุโรป
                ขณะเดียวกัน ระบบไปรษณีย์ภายในประเทศก็เจริญเติบโตขึ้น มีการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1627 และในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1635 ระบบการจัดการของรัฐนั้นได้ พยายามควบคุมให้การส่งเอกสารของทางราชการเป็นไปอย่างรัดกุม
อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง เอกชนก็เข้ามาตั้งกิจการ เย้ยระบบผูกขาดของรัฐจนได้ ต่อมามีการ พัฒนาขึ้นหลายวิธี เช่นใน ศตวรรษที่ 18 และ 19 มีการใช้รถโค้ชเทียมม้า ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น มีบุคคลคนหนึ่งที่เปิดการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของระบบไปรษณีย์อังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาคือ โรว์แลนด์ ฮิล เข้ามาจัดการระบบจนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความหมายของ E-Mail
อีเมล์ E Mail หรือ Electronics Mail แปลตรง ๆ ตัวก็คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ นั่นเอง ดังนั้น ความหมายง่าย ๆ ของอีเมล์ ก็คือ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันโดยที่จากเดิม เราอาจจะใช้วิธีการส่งข้อความ ไปหาผู้อื่นด้วยการเขียนเป็นจดหมาย และส่งผ่านทางไปรษณีย์ แต่ในโลกของอินเตอร์เน็ต จะมีบริการที่เรียกว่า อีเมล์ ซึ่งสามารถทำการส่งข้อความต่าง ๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล์) ได้ และในปัจจุบันนี้ ยังสามารถทำการแนบ ไฟล์เอกสาร ของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ได้ด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้น

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอีเมล์

คำศัพท์
ความหมาย
E-mail (Electronic mail)
จดหมายอิเลคทรอนิคส์ที่ส่งถึงกันไปมาในอินเตอร์เน็ต
E-mail Address
ที่อยู่ทางอีเมล์ คล้าย ๆ กับที่อยู่ที่จ่าหน้าบนซองจดหมายทั่ว ๆ ไป
Inbox
ที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา
Outbox
ที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
Sent Items
ที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
Delete Items
ที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
Drafts
ที่เก็บอีเมล์ สำหรับใช้เก็บอีเมล์ต่าง ๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
Compose / New Mail
เป็นการส่งอีเมล์ใหม่ ไปหาผู้อื่น
Subject
หัวข้อของอีเมล์ที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป
Attach
การแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น
Address Book
สมุดรายชื่อของอีเมล์ต่าง ๆ ที่เราสามารถเก็บไว้ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
Cc: (Carbon Copy)
เป็นการส่ง mail ให้กับผู้รับหลาย ๆ คน โดยที่ทุกคนทราบว่า จดหมายฉบับนี้ ี้ถูกทำสำเนา เพื่อที่จะส่งให้ผู้รับหลายคน
Bcc: (Blind Carbon Copy)
เป็นการส่ง mail ให้กับผู้รับหลาย ๆ คนโดยที่ทุกคนไม่ทราบว่า จดหมายฉบับนี้ถูกทำสำเนาเพื่อที่จะส่งให้ผู้รับหลายคน
Reply
หมายถึง การส่งตอบจดหมายกลับไปยังผู้ส่ง
Forward
หมายถึง ส่งไปทั้งต้นฉบับ


มารยาทในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ในการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ล้วน ๆ เพราะจะทำให้อ่านยาก การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ให้ใช้ได้เฉพาะข้อความที่ต้องการเท่านั้น ควรจ่าคำนำหน้าเชื่อมอย่างระมัดระวัง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เมื่อได้รับจดหมายแล้วควรพิจารณาเนื้อหา และความหมายของถ้อยคำอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ในการรับสาร

ข้อดีของ E-mail
ประหยัดเวลา
ประหยัดเงิน
สามารถส่งในรูปแบบมัลติมีเดียได้
สามารถแนบไฟล์ที่เป็นเอกสารส่งได้
สามารถส่งต่อข้อมูลหรือที่เรียกว่า forward ได้

ข้อจำกัดของ E-mail
ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกคน
ไม่ได้รับต้นฉบับซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษา
อาจมีไวรัสมาพร้อมกับเอกสารที่ส่งมา
ถ้าเครือข่ายล่ม ทำให้การส่งหรือรับข้อมูลล้มเหลว
ถ้าข้อมูลใน mail box เต็มก็ไม่สามารถรับข้อมูลอื่นได้

ลักษณะการทำงานของ E-mail

ลักษณะของการบริการอีเมลแบบเว็บ คือ คุณสามารถรับ ส่งอีเมลผ่านทางเว็บเพจของผู้ให้บริการโดยตรง
สมาชิกใช้เพียงโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เท่านั้นไม่ต้องมีโปรแกรมรับส่งอีเมลโดยเฉพาะก็สามารถใช้บริการอีเมลฟรีแบบนี้ได้เลย
อีเมลสุดฮอตยอดฮิต ที่ Hotmail
u มีเนื้อที่เก็บข้อมูลเป็น 2Mb
u มีการกระตุ้นสมาชิกเข้ามาใช้งานโดยคุณต้องเข้ามาใช้ภายใน 10วันหลังจากทำการสมัครแล้ว
u และต้องเข้ามาอีกทุก ๆ 90 วันไม่อย่างนั้นชื่อคุณอาจหายไปจากรายชื่อสมาชิกของhotmail เป็นได้
u ในขั้นแรกของการมีอีเมลแอดเดรสนั้นไม่ว่าจะเป็นของเว็บใด คุณต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน โดยจะขอยกตัวอย่างของhotmail เข้าไปที่ www.hotmail.comในหน้าแรกโดยคลิกที่ลงทะเบียนเพื่อทำการป้อนข้อมูลและทำการขอชื่อเมลในการเข้าใช้
u เมื่อคลิกเข้าไปที่ลงทะเบียนแล้วจะพบกับหน้าจอที่ให้กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละคนพร้อมทั้งกำหนดรหัสผ่านให้กับอีเมลของตนเองด้วย
u ลักษณะการทำงานของ E-mail ซึ่งส่วนมากจะเป็นการรับส่ง mail
u นอกจากนี้ก็จะเป็นการ ส่งต่อ หรือ forward mail การลบ การจัดเก็บเป็นแฟ้มต่าง ๆ
u มีการส่งข่าวสารปัจจุบันมายังสมาชิก
u มีตารางปฏิทินซึ่งเราสามารถทำเป็นตารางการทำงานหรือเตือนความจำได้อีก